คามิน คมนีย์
คามิน คมนีย์ | |
---|---|
เกิด | บางขัน นครศรีธรรมราช |
อาชีพ | นักเขียน |
ผลงานที่สำคัญ | ไปเป็นเจ้าชาย... ในแคว้นศัตรู, ลูกยางกลางห้วย, ตามหาโจตัน |
คามิน คมนีย์ (อ่านว่า คา-มิน-คะ-มะ-นี) เป็นนักเขียนสารคดีและนวนิยาย มีผลงานรวมเล่มตีพิมพ์แล้ว 16 เล่ม และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมนายอินทร์อะวอร์ด 2 สมัย (ปี 2547 และ 2553), รางวัลชนะเลิศวรรณกรรมแว่นแก้ว (ปี 2554), รางวัลหนังสือดีเด่นของ สพฐ. (ปี 2556) และในปี 2557 คณะกรรมการนานาชาติด้านหนังสือเด็กและเยาวชน (The International Board on Books for Young People: IBBY) ได้ประกาศให้ "ลูกยางกลางห้วย" ของเขาเป็นหนึ่งในรายชื่อหนังสือเกียรติยศ ประจำปี 2557 (IBBY Honour List 2014)[1]
นอกจากงานเขียนแล้ว คามินยังเป็นนักวิ่งระยะไกล, นักตะกร้อวง และนักชินลง อันเป็นกีฬาประจำชาติของพม่า งานเขียนหลายเล่มของเขาสะท้อนประสบการณ์และความหลงใหลในกีฬาดังกล่าว
ประวัติ
[แก้]เกิดที่ตำบลบ้านนิคม อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช จบชั้นประถมศึกษา (ป.6) ที่บ้านเกิดจากโรงเรียนบ้านนิคมวังหิน จ.นครศรีธรรมราช ชั้นมัธยมศึกษา (ม.6) จากโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล จ.กระบี่ และนิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนได้ทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อจนสำเร็จระดับมหาบัณฑิตทางกฎหมาย (Master of Laws) ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ (Cornell) ประเทศสหรัฐอเมริกา เขากลับมาทำงานใช้ทุนในส่วนราชการและทำงานหน่วยงานอิสระมาหลายแห่ง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวง และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.), สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.), สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ด้วยความใฝ่ฝันอยากเขียนหนังสือ เขาจึงออกจากงานประจำขณะมีเงินในบัญชีเพียงเล็กน้อย[2] เพราะความเชื่อว่าหากไม่เช่นนั้นจะไม่มีวันทำฝันให้เป็นจริงได้
ทุกวันนี้คามินสร้างสรรค์งานเขียนหนังสือโดยอิสระ เขามักแบ่งปันแรงบันดาลใจและประสบการณ์อ่านเขียนของเขาในแวดวงวรรณกรรมอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในค่ายวรรณกรรมและการฝึกอบรมการอ่านการเขียนในที่ต่างๆ นับแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบันเขามีบทบาทในฐานะกรรมการบริหารในสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และทำหน้าที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการคัดเลือกรางวัลซีไรต์ (2558)
ผลงานเขียน
[แก้]- เย็นวันเสาร์-เช้าวันอาทิตย์ เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2547) รางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมนายอินทร์อะวอร์ด ปี 2547
- ใต้ฟ้าฟากกระโน้น เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2548) สารคดีสำหรับเยาวชนรางวัลชมเชยแว่นแก้ว ปี 2547
- ช่วยกันเตะ… อย่าให้ตาย! เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2550) รางวัลชนะเลิศ mBook Contest ปี 2547
- ลอยนวล เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2550)
- ไปเป็นเจ้าชาย... ในแคว้นศัตรู เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2553) รางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมนายอินทร์อะวอร์ด ปี 2553
- ตามหาโจตัน เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2554) นวนิยายสำหรับเยาวชนรางวัลชนะเลิศแว่นแก้ว ปี 2554
- ตะลอนพม่าประสาเจ้าชาย เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2555)
- สุ(ข)นัขคอนโด เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2555) หนังสือแนะนำ ประเภทวรรณกรรมสำหรับเยาวชน เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ปี 2556
- โลดเต้นบนเส้นด้าย เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2555)
- ลูกยางกลางห้วย เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2555) รางวัลดีเด่นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น (บันเทิงคดี) ในการประกวดหนังสือดีเด่น ปี 2556, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทวรรณกรรมสำหรับเยาวชน เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ปี 2556 และคณะกรรมการนานาชาติด้านหนังสือเด็กและเยาวชน (The International Board on Books for Young People: IBBY) ประกาศให้ เป็นหนึ่งในรายชื่อหนังสือเกียรติยศ (Honour Book List) ประจำปี 2014
- เหมือนเวลาไม่เคยเปลี่ยน เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2556)
- ใจเท่านั้นบันดาลแรง เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2556)
- เมื่อแม่ตื่น เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2556) หนังสือแนะนำ ประเภทสารคดี เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ปี 2557
- หัว*ใจ*เท้า[ลิงก์เสีย] (2557)
- ลูกนกจากคอน[ลิงก์เสีย] (2559)
- ไปสู่ที่ชอบ-มายังที่รัก[ลิงก์เสีย] (2559)
งานเขียนเชิงวิชาการ (ในชื่อ นิกร เภรีกุล)
[แก้]- 2543 การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน: ทฤษฎี กฎหมาย และแนวทางปฏิบัติ[ลิงก์เสีย]
- 2543 การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน: คู่มือประชาชน[ลิงก์เสีย]
- 2543 กฎหมายวิชาชีพวิศวกรรม (Thai law on engineering profession)[ลิงก์เสีย]
คามินกับการวิ่งระยะไกล
[แก้]คามินลงวิ่งมาราธอน (42.195 กม.) เป็นครั้งแรกในชีวิตในปี 2545 เพราะหลงผิดคิดว่าเป็นกีฬาที่อาศัยเพียงความใจสู้และอดทนโดยไม่ต้องฝึกซ้อมมากมาย บทเรียนเปลี่ยนชีวิตครั้งนั้นทำให้เขาหลงรักการวิ่งระยะไกลเป็นชีวิตจิตใจ ในปีแรกเขาเคยได้ถ้วยรางวัลจากการแข่งขันทั้งระยะมินิมาราธอน (10.5 กม.) ฮาล์ฟมาราธอน (21.1 กม.) และฟูลมาราธอน (42.195 กม.) ต่อมาจะบาดเจ็บบ่อยครั้งและแทบไม่ลงแข่งขันเลยนับเป็นเวลา 10 ปี กระทั่งกลับมามุ่งมั่นและลงวิ่งในระยะฟูมาราธอนได้สำเร็จอีกหนในปี 2556
ประสบการณ์การวิ่งระยะไกลได้กลายเป็นผลงานวรรณกรรมเล่มแรกของเขา คือ เย็นวันเสาร์-เช้าวันอาทิตย์ เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และ หัว*ใจ*เท้า[ลิงก์เสีย] ก็ถ่ายทอดเรื่องราวการกลับมาวิ่งระยะไกลอีกครั้งดังกล่าว
คามินกับตะกร้อวง
[แก้]ชอบใจในหลักคิดของการละเล่นที่ช่วยกันโดยไม่มีผู้แพ้ผู้ชนะของตะกร้อวง คามินทุ่มเทให้กับการฝึกฝนท่วงท่าลีลาหลากหลายจนได้ร่วมวงกับ ชมรมตะกร้อไทยลีลา ซึ่งเล่นประจำมาช้านานที่สนามหลวง เคยนำสมาชิกชมรมออกเดินสายสาธิตและเผยแพร่การเล่นตะกร้อวงในปี 2549-2550 โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส.
เรื่องราวตะกร้อวงของเขารวมเล่มไว้ในหนังสือ เรื่อง ช่วยกันเตะ… อย่าให้ตาย! เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และปรากฏในรายการสารคดีโทรทัศน์ "ลุยไม่รู้โรย"
คามินกับชินลง
[แก้]คามินเดินทางไปฝึกฝนและเล่นชินลงในพม่าครั้งแรกเมื่อปี 2549 ในเทศกาลวาโซชินลงแห่งมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเทศกาลชินลงที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุด เขาได้รับการเรียกขานว่า "ไทยมินดา - Thai Minda" (แปลว่า เจ้าชายไทย) หรือ "โกนิกร - Ko Nikorn" และได้รับการบันทึกว่าเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ร่วมเล่นชินลงในเทศกาลนี้ ในปี 2554 เขานำคณะนักตะกร้อไทยไปร่วมเล่นชินลงในเทศกาลดังกล่าว ทำให้เป็นนักชินลงต่างชาติทีมแรก (คนชาติเดียวกันครบทั้ง 6 คน) ในประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 80 ปีของเทศกาล
ในปลายปี 2555 เขานำนักชินลงมีชื่อจากประเทศพม่า พร้อมคณะรวม 6 คน มาสาธิตและเผยแพร่ชินลงเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเป็นเวลา 9 วัน ในโครงการ "ชินลงมาไทย --Chinlone Thailand Tour 2012"
ประสบการณ์และเรื่องราวของชินลงและการเดินทางของเขาและคณะ ได้รับการถ่ายทอดสู่สาธารณชน ดังนี้
- หนังสือ ไปเป็นเจ้าชาย... ในแคว้นศัตรู เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หนังสือ ตะลอนพม่าประสาเจ้าชาย เก็บถาวร 2015-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รายการสารคดีโทรทัศน์ หนังพาไป
- รายการสารคดีโทรทัศน์ เรื่องเล่าจากเทศกาล
- รายการสารคดีโทรทัศน์ กบนอกกะลา
คามินในรายการโทรทัศน์และบทความนิตยสาร
[แก้]เว็บไซต์และบล็อก
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 2016-01-18.
- ↑ " นิตยสารสารคดี" แนะนำนักเขียน" เก็บถาวร 2007-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สารคดี. เรียกข้อมูลวันที่ 24 ก.ค. 2554.